วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสร้างบล็อก

วิธีสร้าง blog ทำอย่างไร

ทั่วไปPublished กุมภาพันธ์ 15, 2010 at 12:47 am No Comments

สมัครสร้างบล็อก
สมัครสร้างบล็อก
หากเพิ่งเข้ามาใช้งานบล็อกเป็นครั้งแรกไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ให้ “เข้าสู่ระบบ” ก่อนค่ะ โดยการ ใส่ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ของตนเอง ในกรณีที่ยังที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ tlcthai.com คลิ๊กที่ REGISTER / ลงทะเบียนสร้างบล๊อก

02login
เมื่อทำการ Login แล้ว จะพบเมนูด้านบน ซึ่งแต่ละเมนู ทำหน้าที่ดังนี้
  • ดูบล็อกของคุณ – เข้าไปที่หน้าแรกบล็อก (ในกรณีที่สร้างไว้แล้ว)
  • จัดการบล๊อก – เข้าไปหน้าแรกระบบจัดการบล็อกของคุณ
  • เขียนเรื่องใหม่ – เข้าไปสู่หน้าโพสต์เรื่องในบล็อก
  • ออกจากระบบ – ออกจากการจัดการบล็อกทั้งหมด
สร้างชื่อ blog ที่ต้องการ
1.สร้างชื่อบล็อก และ 2.หัวข้อบล็อก โดยชื่อบล็อกนั้นจะต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กและตัวเลขเท่านั้น โดยไม่ซ้ำกับ blog เดิมที่มีอยู่ใน TLC Blogger หรือถ้าคุณต้องการชื่อนั้นจริงๆ มันก็มีเทคนิคนะ ลองอ่านที่เทคนิคการสร้างชื่อบล๊อก ส่วนในหัวข้อบล็อกนั้น สามารถใส่ตัวอักษรภาษาไทยได้ เป็นข้อความที่เป็นชื่อบล็อกหรือ บอกว่าบล็อกคุณเป็นบล็อกอะไร ซึ่งสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง
เท่านี้คุณก็ได้บล็อกสำหรับเขียนเรื่องที่คุณอยากบอกคนทั้งโลกแล้วว!!!

Leave a Reply

(ต้องการ)
(ต้องการ)


วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Constructivism is a theory of knowledge (epistemology) [1] that argues that humans generate knowledge and meaning from an interaction between their experiences and their ideas. During infancy, it is an interaction between their experiences and their reflexes or behavior-patterns. Piaget called these systems of knowledge schemata. Constructivism is not a specific pedagogy, although it is often confused with constructionism, an educational theory developed by Seymour Papert, inspired by constructivist and experiential learning ideas of Jean Piaget. Piaget's theory of constructivist learning has had wide ranging impact on learning theories and teaching methods in education and is an underlying theme of many education reform movements. Research support for constructivist teaching techniques has been mixed, with some research supporting these techniques and other research contradicting those results
Constructivism คือทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา) [1] ที่โต้แย้งว่ามนุษย์สร้างความรู้และความหมายจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และความคิดของพวกเขา ในช่วงวัยทารกก็คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และ reflexes ของพวกเขาหรือลวดลาย - พฤติกรรม Piaget เรียกว่าระบบเหล่านี้ของ Schemata ความรู้ Constructivism ไม่ได้สอนเฉพาะแม้ว่าจะมักจะสับสนกับ constructionism, ทฤษฎีการศึกษาการพัฒนาโดย Seymour Papert, แรงบันดาลใจจากคอนสตรัคติและความคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Jean Piaget Piaget ทฤษฎีของการเรียนรู้คอนสตรัได้มีผลกระทบตั้งแต่กว้างในการเรียนรู้ทฤษฎีและวิธีการสอนในการศึกษาและเป็นชุดรูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนไหวการปฏิรูปการศึกษาหลาย การสนับสนุนการวิจัยเชิงเทคนิคการสอนคอนสตรัได้รับการผสมกับงานวิจัยที่สนับสนุนเทคนิคเหล่านี้และงานวิจัยอื่น ๆ contradicting ผลลัพธ์เหล่านั้นบางส่วน

Constructivism

Constructivism is a theory of knowledge (epistemology) [1] that argues that humans generate knowledge and meaning from an interaction between their experiences and their ideas. During infancy, it is an interaction between their experiences and their reflexes or behavior-patterns. Piaget called these systems of knowledge schemata. Constructivism is not a specific pedagogy, although it is often confused with constructionism, an educational theory developed by Seymour Papert, inspired by constructivist and experiential learning ideas of Jean Piaget. Piaget's theory of constructivist learning has had wide ranging impact on learning theories and teaching methods in education and is an underlying theme of many education reform movements. Research support for constructivist teaching techniques has been mixed, with some research supporting these techniques and other research contradicting those results

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่เเละปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว  ชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาประเทศให้เดินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์
    ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณที่มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีดำเนินชีวิตด้วยความ
อดทนความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยน       แปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

เศรษกิจพอเพียง

เทคโนโลยีสารสนเทศ.....กับเศรษฐกิจพอเพียง

บทบาท “เทคโนโลยี” มีความโดดเด่น กล่าวคือ การใช้ความรู้และประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ความจริงความรู้ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรมีอยู่มากพอสมควร เพียงแต่ต้องคัดเลือกความรู้ที่มีความเหมาะสมมาใช้ ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมในการใช้เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า “เทคโนโลยีนั้น โดยหลักการ คือ การทำสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดั้งนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบรูณ์แบบจึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด”
เทคโนโลยี ”  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง...
พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื้อสัตย์สุจริตและให้ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้าน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี  
เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระหัวเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนี้ คือ การดำเนินชีวิตที่ยึดเส้นทางสายกลางคือความพอดี ความพอเพียงในการดำเนินชีวิตประกอบด้วยหลักสำคัญ     6 ประการ คือ      
(1.) ความพอดีด้านจิตใจ (2.) ความพอดีด้านสังคม (3.) ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4.) ความพอเพียงด้านการศึกษา (5.) ความพอดีด้านเทคโนโลยีและเงินทุน คือ รู้จักใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับความต้องการและการพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม  (6.) ความพอเพียงด้านเศรษฐกิจปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอเพียงทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีใหม่ให้แง่คิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความพอเพียงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัจจัยดังต่อไปนี้               (1.) ปัจจัยด้านที่ดิน (2.)ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (3.) ปัจจัยด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4.) ปัจจัยด้านทุนและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมความรู้ในการทำมาหากิน และการทำการเกษตร โดยนำภูมิปัญญาที่ได้รับสืบทอดกันมาในท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต เพื่อดำรงชีวิตและการจัดการล้วนแต่เริ่มจากความเข้าใจพื้นฐานที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำมาปรับใช้ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎรแต่ละภูมิภาค (5.) ปัจจัยด้านการศึกษา (6.) ปัจจัยด้านจิตใจ (7.) ปัจจัยด้านทัศนคติและค่านิยม (8.) ปัจจัยทางด้านสังคม
เทคโนโลยี มิติใหม่สำหรับการพัฒนาประเทศ
สำหรับในปัจจุบันนี้นั้น ไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า ขีดความสามารถทางเทคโนโลยี(Technological capability) คือ ปัจจัยซึ่งตัดสินเด็ดขาดในทุกๆด้าน ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง และด้านทหาร ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบระหว่างประเทศ มิได้ถูกกำหนดโดยความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความกว้างใหญ่ไพศาลของดินแดน หรือจำนวนของประชากร แล้วหากถูกกำหนดโดยขีดความสามารถในทางเทคโนโลยี และพลังความก้าวหน้าของขีดความสามารถดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีอยู่ ประเทศใดมีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูง และมีพลังความก้าวหน้าในทางเทคโนโลยีสูง ประเทศนั้นก็มีข้อได้เปรียบ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศใดมีขีดความสามารถต่ำก็เป็นฝ่ายเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน ด้วยเหตุนี้ เราอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี คือปัจจัยซึ่งมีความสำคัญเหนือปัจจัยใดๆ ทั้งหมดสำหรับพลังอำนาจของประเทศ
ดังนั้นความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็อาจจะวัดได้จากขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในเทคโนโลยี ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีในฐานะปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าอยู่เหนือกว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน ทุนแรงงานหรือการประกอบการผลิต
การที่โลกตะวันตกมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืนตลอดเวลากว่า 2 ศตวรรษที่ผ่านก็เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระหว่างช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศต่างๆ ในโลกตะวันตกไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีในระหว่างช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศต่างๆในโลกตะวันตกไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักหลักในการผลิตเท่านั้น หากยังได้ ผลิต เทคโนโลยีขึ้นมาอีกด้วย ทั้งนี้โดยผ่านการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเทคโนโลยีจนกระทั่งสามารถพึ่งตนเองได้ในระดับที่พอเพียงสำหรับเป็นรากฐานรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งสิ้นได้พัฒนาขึ้นบนข้อสมมุติฐานว่าประเทศต่างๆ มีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในเทคโนโลยีซึ่งมีความก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง
หากจะได้มีการวิเคราะห์กันอย่างลึกซึ้งและรอบคอบแล้ว ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโครงสร้าง หรือปัญหาในเรื่องเสถียรภาพก็ตาม มีต้นเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทย มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีอย่างจำกัดและพึ่งตนเองไม่ได้ทางเทคโนโลยี ซึ่งการนี้ย่อมหมายถึงว่าประเทศไทยเราพึ่งตนเองไม่ได้เลยสำหรับสภาพของเศรษฐกิจ ในลักษณะปัจจุบัน ในขณะที่การแก้ไขปัญหาความยากจนและความยากไร้ในพื้นที่ชนบทอาจเรียกว่าล้มเหลว การพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติที่เป็นความภูมิใจในความสำเร็จบางช่วงเวลา โดยแท้จริงก็เป็นเพียง ภาพลวงตา เท่านั้น พื้นที่ชนบทยังคงเสียสมดุลทางเศรษฐกิจต่อไปในลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์ถาวร ขณะที่เศรษฐกิจระดับชาติยังคงมีความอ่อนแอที่ฐานราก เพราะขีดความสามารถในการผลิตซึ่งพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีมีขอบเขตที่จำกัด
แนวพระราชดำริในเรื่องของโครงสร้างเศรษฐกิจนี้ต่อมาได้รู้จักกันในมโนทัศน์ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งขยายความว่า แนวทางการพัฒนาที่จะนำความมั่นคงและยั่งยืนมาสู่สังคมไทยนั้น จำเป็นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความพอเพียง ซึ่งหมายถึง การพอมีพอกินที่เกิดจากการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ทั้งในระดับบุคคลชุมชนและระดับประเทศเป็นเบื้องต้นก่อน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เศรษฐกิจธุรกิจแต่อย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำให้คนไทยพึ่งตนเองได้ และทรงเห็นว่า ถ้าหาก เศรษฐกิจพอเพียง มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 25 ของระบบเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็มีความมั่งคงในการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การกำหนดรากฐานของโครงสร้างเศรษฐกิจแห่งประเทศไทยด้วยมโนทัศน์ เศรษฐกิจพอเพียง ตามนัยข้างต้นนี้ เป็นการอภิวัฒน์แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความสำคัญ สามารถนำไปใช้กับกลุ่มประเทศที่มีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีในระดับต่ำได้โดยทั่วไปที่แสวงหา ความพอมีพอกิน ของราษฎรส่วนใหญ่และ ความสงบสุข ของสังคมเป็นส่วนรวม
แบบจำลองทางเศรษฐกิจ ตามพระราชดำริเน้นทั้งความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การเกษตรของไทย การพัฒนาเกษตรให้มีความเข้มแข็งเพียงพอ ย่อมต้องการปัจจัยบางประการซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนของกลไกของพัฒนา ปัจจัยดังกล่าวนี้มีความสำคัญต่อการปรับปรุงแก้ไขในทุกๆปัญหาอันเกี่ยวกับการเกษตรไม่ว่าจะเป็นในเรื่องดิน, น้ำ, กรรมวิธีการผลิต, การกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ หรือในเรื่องของการค้นคว้าทดลอง และจุดอ่อนในปัจจัยดังกล่าวนี้ก็ คือ จุดอ่อนของการเกษตรในเศรษฐกิจของประเทศไทย
ใน แบบจำลองตามพระราชดำรินั้น บทบาท เทคโนโลยี มีความโดดเด่น กล่าวคือ การใช้ความรู้และประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ความจริงความรู้ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรมีอยู่มากพอสมควร เพียงแต่ต้องคัดเลือกความรู้ที่มีความเหมาะสมมาใช้ ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมในการใช้เท่านั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า เทคโนโลยีนั้น โดยหลักการ คือ การทำสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดั้งนั้น เทคโนโลยีที่ดีสมบรูณ์แบบจึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด  
ที่มา:   
1.วิภารัช จินนิกร,เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน.กรุงเทพฯ:หจก.เทคนิค19,2546                
2.วิขิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, นโยบายเทคโนโลยี กับเศรษฐกิจของประเทศไทย”,
สถาบัน วท., 2528.          
3.วิขิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเศรษฐกิจของประเทศไทย .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาวจำกัด, 2546   
นางสาววันทาศิริ  สิงห์สถิตย์ รหัส 50199050273
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (นโยบายสาธารณะ)
คณะ